วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การบัดกรี

การบัดกรีแข็ง เป็นหนึ่งในกรรมวิธีการประสานโลหะให้ยึดติดกันด้วยความร้อน ซึ่งการบัดกรีแข็งนี้มีกระบวนการและกรรมวิธีใน การปฏิบัติต่างจากการเชื่อมชนิดอื่น โดยที่ความแข็งแรงที่ได้จากการบัดกรีแข็งนี้อาจจะแข็งแรงมากกว่าหรือเท่ากับการเชื่อม เมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมทางข้าพเจ้าจึงได้ให้ความสนใจในเรื่องการบัดกรีแข็ง โดยได้ค้นคว้าศึกษาข้อมูลและทำการทดสอบบัดกรีแข็งกับชิ้นงานเพลา และแผ่นตามมาตรฐาน JIS Z 3192 กับโลหะงานและลวดบัดกรีแข็งต่าง ๆ กัน จำนวน 120 ชิ้น จากนั้นนำชิ้นงานที่ได้มาทดสอบด้วยการตรวจสอบ แบบมาโคร เมื่อได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ก็ได้นำไปทดสอบแรงดึงเพื่อให้เราได้ทราบถึงผลการทดสอบแรงดึง ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าการออกแบบชิ้นงาน และกรรมวิธีการเตรียมงานการบัดกรีแข็งที่ถูกต้องเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในการเพิ่มคุณสมบัติการรับแรงดึง โดยสังเกตได้จากชิ้นงาน ชนิดแผ่น ซึ่งได้มีการออกแบบการรับแรงสำหรับงานวิกฤติมากจึงสามารถรับแรงได้มากต่างกับชิ้นงานเพลาที่ได้มีการออกแบบสำหรับงาน ที่มีวิกฤตน้อยจากการรับแรงได้น้อยดังนั้นการออกแบบชิ้นงานและการเตรียมงานก่อนการบัดกรีแข็งจึงมีความสำคัญต่อการรับแรงดึง และจากการทดสอบแรงดึงชนิดเพลาจะทราบว่าสามารถรับแรงได้น้อยมาก เพราะว่าการออกแบบชนิดนี้ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้งานจริง ดังนั้นจึงมีการออกแบบชิ้นงานเพลาใหม่และมีการแนะนำการบัดกรีแข็งโดยการบัดกรีงานอลูมิเนียมควรใช้เปลวคาบูไรซิ่งอ่อน ๆ เพื่อป้องกันชิ้นงานหลอมทะลุก่อนการบัดกรีแข็ง, การบัดกรีแข็งทองแดงไม่ควรใช้เวลาในการบัดกรีแข็งนาน เนื่องจากจะทำให้ชิ้นงานไหม้, การบัดกรีแข็งลวดทองเหลืองควรควบคุมความร้อนให้ดี เพราะถ้าใช้อุณหภูมิสูงมาก ๆ จะทำให้สังกะสีระเหยไปจนเหลือแต่ทองแดงได้ การออกแบบ Jig เพื่อให้ได้ระยะห่างของร่องรอยต่อ (Clearance) ตามที่กำหนด ควรเผื่อระยะการขยายตัวของชิ้นงานเพียงเล็กน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น