วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มอเตอร์

มอเตอร์ เป็นเครื่องกลเพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ด้วยส่วนหมุนได้ที่พันด้วยขดลวด
เป็นกระบวนการย้อนกลับของ ไดนาโม หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
มักเป็นส่วนประกอบสำคัญใน เครื่องกล เครื่องจักรกลอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องอัดลม พัดลม เครื่องลำเลียง เครื่องเล่นแผ่นดิสก์ ฯลฯ
มอเตอร์ลากจูง (Traction motor) ซึ่งใช้ในยานยนต์และรถไฟ สามารถหมุนได้ทั้งสองทิศทาง
มอเตอร์ ต้องต่อวงจรไฟฟ้าเข้ากับ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ (สำหรับ มอเตอร์กระแสตรง ในเครื่องกลหรือยานยนต์) หรือการจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก โรงงานไฟฟ้า (สำหรับ มอเตอร์กระแสสลับ ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน)
มอเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ที่ใช้งานได้จริงในปัจจุบัน ได้แก่ มอเตอร์ใน นาฬิกาข้อมือไฟฟ้า มอเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ที่อยู่ระหว่างพัฒนา ได้แก่ มอเตอร์นาโน (เล็กกว่าเส้นผม 300 เท่า) มอเตอร์ขนาดกลางมาตรฐานสูง มักเป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม มอเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ในท่อขับระวางของเรือเดินสมุทร (ใช้กำลังไฟนับพัน กิโลวัตต์)
หลักการทางฟิสิกส์ ในการผลิตพลังงานกลด้วยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นที่รู้จักกันเมื่อตอนต้น ค.ศ. 1821
มอเตอร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์มาตลอด คริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อเครื่องกลใช้มอเตอร์มากขึ้น ปริมาณความต้องการพลังงานไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

อุปกรณ์โฟโต้

1. โฟโต้ไดโอด(Photo Diode)
โฟโต้ไดโอด (Photo Diode) เป็นอุปกรณ์เชิงแสงชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด P และสารกึ่งตัวนำชนิด N รอยต่อจะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุที่แสงผ่านได้ เช่น กระจกใส โฟโต้ไดโอดจะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบที่ตอบสนองต่อแสงที่เรามองเห็น และแบบที่ตอบสนองต่อแสงในย่านอินฟาเรด ในการรับใช้งานจะต้องต่อโฟโต้ไดโอดในลักษณะไบอัสกลับ
โฟโต้ไดโอด (Photo Diode) จะยอมให้กระแสไหลผ่านได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มของแสง เมื่อโฟโต้ไดโอดได้รับไบอัสกลับ (Reverse Bias) ด้วยแรงดันค่าหนึ่งและมีแสงมาตกกระทบที่บริเวณรอยต่อ ถ้าแสงที่มาตกกระทบมีความยาวคลื่นหรือแลมด้าที่เหมาะสมจะมีกระแสไหลในวงจร โดยกระแสที่ไหลในวงจร จะแปรผกผันกับความเข้มของแสงที่มาตกกระทบ ลักษณะทั่วไปขณะไบอัสตรง (Forward Bias ) จะยังคงเหมือนกับไดโอดธรรมดาคือยอมให้กระแสไหลผ่านได้

โฟโต้ไดโอดเมื่อเทียบกับ LDR (ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง) แล้วโฟโต้ไดโอดมีการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานเร็วกว่า LDR มาก จึงนิยมนำไปประยุกต์งานในวงจรที่ต้องการความเร็วสูง เช่น เครื่องนับสิ่งของ, ตัวรับรีโมทคอนโทรล, วงจรกันขโมยอินฟาเรดเป็นต้น
เนื่องจากโฟโต้ไดโอดให้ค่าการเปลี่ยนแปลงของกระแสต่อแสงต่ำ คืออยู่ในช่วง 1-10 ตA เท่านั้น ดังนั้นการใช้งานโฟโต้ไดโอดจึงต้องมีตัวขยายกระแสเพิ่มเติม ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขยายกระแสเพิ่มเติมอยู่ในตัวถังเดียวกัน ซึ่งเรียก ว่าโฟโต้ทรานซิสเตอร์(Photo Transistor)

2. โฟโต้ทรานซิสเตอร์ (Photo Transistor)
โฟโต้ทรานซิสเตอร์ (Photo Transistor) จะประกอบด้วยโฟโต้ไดโอดซึ่งจะต่ออยู่ระหว่างขาเบสกับคอลเลคเตอร์ ของทรานซิสเตอร์ ดังรูป 2 กระแสที่เกิดขึ้นจากาการเปลี่ยนแปลงของแสงจะถูกขยายด้วยทรานซิสเตอร์ (Transistor) ในการใช้งานโฟโต้ทรานซิสเตอร์ รอยต่อระหว่างเบส-อิมิตเตอร์ (Base-Emitter) จะต่อไบอัสกลับ (Reverse Bias) ที่รอยต่อนี้เองเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการแปลงค่ากระแสที่ขึ้นอยู่กับความเข้มแสง เมื่อไบอัสกลับ (Reverse Bias) ที่รอยต่อระหว่างเบสกับคอลเลคเตอร์ (Base-Collecter) และมีแสงตกกระทบที่บริเวณรอยต่อ กระแสอันเนื่องจากแสง (IP) จะถูกขยายด้วยอัตราขยายของทรานซิสเตอร์เป็นกระแสอิมิตเตอร์ (IE) และถ้าไบอัสตรงที่ขาเบสด้วยกระแสเบส (IB) จากภายนอกก็จะถูกขยายรวมกับกระแสเนื่องจากแสง (IP) ด้วย

ถ้าให้ IP = กระแสที่เกิดขึ้นเนื่องจากแสง
IB = กระแสเบสที่มาจากภายนอก
IE = กระแสอิมิตเตอร์
hfe = อัตราขยายของทรานซิสเตอร์

จากสมการของทรานซิสเตอร์คือ

IC = hfeIB

และ
IE = IC + ( IB IP )

จะได้
IE = IC + ( IB IP ) hfe + I

จะเห็นได้ว่ากระแส IE เปลี่ยนแปลงตามกระแส IP ด้วยอัตราขยายถึง hfe+1 เท่าซึ่งถ้า IP มีค่าเปลี่ยนแปลงจาก 1-10ตA และทำให้ hfe มีค่าประมาณ 100 จะได้ค่า IE เปลี่ยนแปลงจาก 100ตA ถึง 1mA
อัตราขยายกระแสยิ่งสูงจะทำให้ผลตอบสนองต่อแสงจะไวขึ้น ค่า hfe สูงๆ จะต้องทำให้รอยต่อระหว่างเบสกับคอลเล็กเตอร์มีพื้นที่มาก แต่ก็ทำให้กระแสรั่วไหลสูงขึ้นด้วย เพราะรอยต่อจะถูกไบอัสกลับ (Revese Bias)

3. โฟโต้ดาร์ลิงตันทรานซิสเตอร์ (Photo DaringtonTransistor)
โฟโต้ดาร์ลิงตันทรานซิสเตอร์ (Photo DaringtonTransistor) คือโฟโต้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัวต่อร่วมกันในลักษณะวงจรดาร์ลิงตัน คือต่อในลักษณะขาอิมิตเตอร์(Emitter) ของตัวหนึ่งจะต่อเข้ากับเบส (Base) ของตัวถัดไป ลักษณะการต่อเช่นนี้จะทำให้ทรานซิสเตอร์มีอัตราการขยายสูงขึ้นอีกมาก

เทคนิคการซ่อมโทรทัศน์

ก่อนอื่นต้องเช็คที่ภาคจ่ายไฟ(วงจรเรียงกระแส)ว่าทำงานหรือไม่โดยใช้มัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดดีซี 250 โวลต์ วัดแรงดันที่ตัวเก็บประจุค่า3300ไมโครฟารัด400โวลต์จะต้องมีแรงดันประมาณ 300 โวลต์ถ้าไม่มีให้ย้อนกลับเช็ควงจรเรียงกระแส ถ้ามีให้เช็คแรงดันไฟตรงที่ตัวเก็บประจุ 2200ไมโคฟารัด160โวลว่ามีแรงดันประมาณ115โวลต์ ไม่มีให้ย้อนกลับไปเช็คภาคสวิตชิ่งค์ ถ้ามีแสดงว่าภาคจ่ายไฟทำงานแล้ว ให้ทำการเช็คที่ภาคอื่นต่อไป ให้เช็คแรงดันไตรงที่ตัวเก็บประจุ 2200ไมโคฟารัด160โวลว่ามีแรงดันประมาณ115โวล

การล้างแอร์

วิธีการปฏิบัติงาน
6.1 การล้างย่อย (การล้าง Air Filter และเป่าฝุ่นชุด Condensing Unit)
6.1.1 ทำการขออนุญาตล้างกรองอากาศ กับเจ้าของพื้นที่
6.1.2 เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน
6.1.3 ปิดเครื่องปรับอากาศ Lock out, Tag out
6.1.4 ถอดกรองอากาศล้างด้วยน้ำและเป่าด้วย Blower ให้แห้ง
6.1.5 ตรวจสอบความตันของกรองเพื่อปรับความถี่ในการล้างให้เหมาะสม
6.1.6 ติดตั้งกรองอากาศเข้าที่เดิม ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยรอบบริเวณที่ทำงาน
6.1.7 เป่าฝุ่นชุด Condensing ด้วย Blower และแปรงปัด
6.1.8 ปลด Lock out, Tag out
6.1.9 เปิดเครื่องปรับอากาศทดสอบการทำงาน
•6.2 การล้างใหญ่ (การล้าง Air Filter ,ชุด Fan coil Unit ,ใบพัดมอเตอร์ชุด Fan coil Unit ชุด Condensing Unit , ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น , เช็คกระแสไฟฟ้าและระดับแรงดันไฟฟ้า)
6.2.1 ทำการขออนุญาตล้างกรองอากาศ กับเจ้าของพื้นที่
6.2.2 เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน
6.2.3 ปิดเครื่องปรับอากาศ Lock out, Tag out
6.2.4 ถอดฝาครอบชุด Fan coil unit
6.2.5 ถอดชุด Motor Fan coil unit
6.2.6 ถอดถาดน้ำทิ้ง
6.2.7 ใช้ผ้ายางหรือพลาสติก ปิดคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้ถูกน้ำ
6.2.8 ใช้ผ้าใบรองล้าง สวมรองชุด Fan coil unit โดยต่อท่อน้ำทิ้งลงถังพลาสติก
6.2.9 ฉีดล้างแผงคอยล์เย็นด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
6.2.10 ทำความสะอาดใบพัดมอเตอร์ Fan coil unit
6.2.11 ทำความสะอาดท่อน้ำและถาดน้ำทิ้ง
6.2.12 ทำความสะอาดแผงกรองอากาศ (Air Filter)
6.2.13 ใช้เครื่องเป่าลมเป่าอุปกรณ์ที่ล้างให้แห้ง ก่อนประกอบชุด Fan coil unit
6.2.14 ถอดฝาครอบชุด Condensing unit
6.2.15 ใช้ผ้ายาง หรือ พลาสติก ปิดคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้ถูกน้ำ
6.2.16 ใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดล้าง Condensing unit
6.2.17 ทำความสะอาดใบพัดมอเตอร์ Condensing unit
6.2.18 ใช้เครื่องเป่าลมเป่าแผงคอนเดนเซอร์ให้แห้งก่อนประกอบชุด Condensing unit
6.2.19 ตรวจสอบอุปกรณ์ตั้งเวลา (Timer) และอุปกรณ์ช่วยสตาร์ทคอมเพรสเซอร์(ถ้ามี)
6.2.20 ปลด Lock out, Tag out
6.2.21 เปิดเครื่องปรับอากาศทดสอบการทำงาน
6.2.22 ตรวจสอบความสั่นสะเทือน
6.2.23 ตรวจวัดระบบไฟฟ้า (กระแสและแรงดันไฟฟ้า)
6.2.24 ตรวจวัดแรงดันน้ำยา

การล้างแอร์

วิธีการปฏิบัติงาน
6.1 การล้างย่อย (การล้าง Air Filter และเป่าฝุ่นชุด Condensing Unit)
6.1.1 ทำการขออนุญาตล้างกรองอากาศ กับเจ้าของพื้นที่
6.1.2 เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน
6.1.3 ปิดเครื่องปรับอากาศ Lock out, Tag out
6.1.4 ถอดกรองอากาศล้างด้วยน้ำและเป่าด้วย Blower ให้แห้ง
6.1.5 ตรวจสอบความตันของกรองเพื่อปรับความถี่ในการล้างให้เหมาะสม
6.1.6 ติดตั้งกรองอากาศเข้าที่เดิม ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยรอบบริเวณที่ทำงาน
6.1.7 เป่าฝุ่นชุด Condensing ด้วย Blower และแปรงปัด
6.1.8 ปลด Lock out, Tag out
6.1.9 เปิดเครื่องปรับอากาศทดสอบการทำงาน
•6.2 การล้างใหญ่ (การล้าง Air Filter ,ชุด Fan coil Unit ,ใบพัดมอเตอร์ชุด Fan coil Unit ชุด Condensing Unit , ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น , เช็คกระแสไฟฟ้าและระดับแรงดันไฟฟ้า)
6.2.1 ทำการขออนุญาตล้างกรองอากาศ กับเจ้าของพื้นที่
6.2.2 เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน
6.2.3 ปิดเครื่องปรับอากาศ Lock out, Tag out
6.2.4 ถอดฝาครอบชุด Fan coil unit
6.2.5 ถอดชุด Motor Fan coil unit
6.2.6 ถอดถาดน้ำทิ้ง
6.2.7 ใช้ผ้ายางหรือพลาสติก ปิดคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้ถูกน้ำ
6.2.8 ใช้ผ้าใบรองล้าง สวมรองชุด Fan coil unit โดยต่อท่อน้ำทิ้งลงถังพลาสติก
6.2.9 ฉีดล้างแผงคอยล์เย็นด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
6.2.10 ทำความสะอาดใบพัดมอเตอร์ Fan coil unit
6.2.11 ทำความสะอาดท่อน้ำและถาดน้ำทิ้ง
6.2.12 ทำความสะอาดแผงกรองอากาศ (Air Filter)
6.2.13 ใช้เครื่องเป่าลมเป่าอุปกรณ์ที่ล้างให้แห้ง ก่อนประกอบชุด Fan coil unit
6.2.14 ถอดฝาครอบชุด Condensing unit
6.2.15 ใช้ผ้ายาง หรือ พลาสติก ปิดคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้ถูกน้ำ
6.2.16 ใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดล้าง Condensing unit
6.2.17 ทำความสะอาดใบพัดมอเตอร์ Condensing unit
6.2.18 ใช้เครื่องเป่าลมเป่าแผงคอนเดนเซอร์ให้แห้งก่อนประกอบชุด Condensing unit
6.2.19 ตรวจสอบอุปกรณ์ตั้งเวลา (Timer) และอุปกรณ์ช่วยสตาร์ทคอมเพรสเซอร์(ถ้ามี)
6.2.20 ปลด Lock out, Tag out
6.2.21 เปิดเครื่องปรับอากาศทดสอบการทำงาน
6.2.22 ตรวจสอบความสั่นสะเทือน
6.2.23 ตรวจวัดระบบไฟฟ้า (กระแสและแรงดันไฟฟ้า)
6.2.24 ตรวจวัดแรงดันน้ำยา

การล้างแอร์

วิธีการปฏิบัติงาน
6.1 การล้างย่อย (การล้าง Air Filter และเป่าฝุ่นชุด Condensing Unit)
6.1.1 ทำการขออนุญาตล้างกรองอากาศ กับเจ้าของพื้นที่
6.1.2 เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน
6.1.3 ปิดเครื่องปรับอากาศ Lock out, Tag out
6.1.4 ถอดกรองอากาศล้างด้วยน้ำและเป่าด้วย Blower ให้แห้ง
6.1.5 ตรวจสอบความตันของกรองเพื่อปรับความถี่ในการล้างให้เหมาะสม
6.1.6 ติดตั้งกรองอากาศเข้าที่เดิม ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยรอบบริเวณที่ทำงาน
6.1.7 เป่าฝุ่นชุด Condensing ด้วย Blower และแปรงปัด
6.1.8 ปลด Lock out, Tag out
6.1.9 เปิดเครื่องปรับอากาศทดสอบการทำงาน
•6.2 การล้างใหญ่ (การล้าง Air Filter ,ชุด Fan coil Unit ,ใบพัดมอเตอร์ชุด Fan coil Unit ชุด Condensing Unit , ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น , เช็คกระแสไฟฟ้าและระดับแรงดันไฟฟ้า)
6.2.1 ทำการขออนุญาตล้างกรองอากาศ กับเจ้าของพื้นที่
6.2.2 เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน
6.2.3 ปิดเครื่องปรับอากาศ Lock out, Tag out
6.2.4 ถอดฝาครอบชุด Fan coil unit
6.2.5 ถอดชุด Motor Fan coil unit
6.2.6 ถอดถาดน้ำทิ้ง
6.2.7 ใช้ผ้ายางหรือพลาสติก ปิดคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้ถูกน้ำ
6.2.8 ใช้ผ้าใบรองล้าง สวมรองชุด Fan coil unit โดยต่อท่อน้ำทิ้งลงถังพลาสติก
6.2.9 ฉีดล้างแผงคอยล์เย็นด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
6.2.10 ทำความสะอาดใบพัดมอเตอร์ Fan coil unit
6.2.11 ทำความสะอาดท่อน้ำและถาดน้ำทิ้ง
6.2.12 ทำความสะอาดแผงกรองอากาศ (Air Filter)
6.2.13 ใช้เครื่องเป่าลมเป่าอุปกรณ์ที่ล้างให้แห้ง ก่อนประกอบชุด Fan coil unit
6.2.14 ถอดฝาครอบชุด Condensing unit
6.2.15 ใช้ผ้ายาง หรือ พลาสติก ปิดคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ให้ถูกน้ำ
6.2.16 ใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดล้าง Condensing unit
6.2.17 ทำความสะอาดใบพัดมอเตอร์ Condensing unit
6.2.18 ใช้เครื่องเป่าลมเป่าแผงคอนเดนเซอร์ให้แห้งก่อนประกอบชุด Condensing unit
6.2.19 ตรวจสอบอุปกรณ์ตั้งเวลา (Timer) และอุปกรณ์ช่วยสตาร์ทคอมเพรสเซอร์(ถ้ามี)
6.2.20 ปลด Lock out, Tag out
6.2.21 เปิดเครื่องปรับอากาศทดสอบการทำงาน
6.2.22 ตรวจสอบความสั่นสะเทือน
6.2.23 ตรวจวัดระบบไฟฟ้า (กระแสและแรงดันไฟฟ้า)
6.2.24 ตรวจวัดแรงดันน้ำยา

การพันมอเตอร์

วิธีกาพันมอเตอร์ Brushlessแบบการพันมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน Brushless นั้นมีวิธีการพันหลายแบบตามความต้องการของผู้ใช้และความแรงที่ได้ก็แตกต่างกันไป เพื่อให้ได้ความแรงออกมาตามที่ต้องการมีวิธีการคำนวณที่สลับซับซ้อนบ้างแตกต่างกันไปแล้วแต่วิธีการในที่นี่จะไม่กล่าวถึง และบางครั้งการพันของมอเตอร์ที่ทำขายเป็นชุดเพื่อให้นำมาพันด้วยตนเองจะบอกจำนวนรอบการพันจำนวน kv ที่ได้ออกมาจากการพันเป็นตารางไว้ให้แล้ว1. การพันมอเตอร์ Brushless ที่ทำขึ้นมาเองจากการดัดแปลงทำจาก CD Rom ที่สามารถนำมาใช้งานได้ค่อนค้างดีจะมีขาที่ใช้พันลวด stator 9 ขา จำนวนขั้วแม่เหล็กที่นำมาใช้แล้วได้ผลดีก็คือ 12 ขั้ว โดยใช้แม่เหล็กขนาด 6X6X1 มม. ติดเข้าไปกับเบล ลวดที่นำมาใช้ก็มีตั้งแต่เบอร์ 27, 29 32 33 แลว้แต่จะหาได้ ถ้าเส้นโตหน่อยก็พันเส้นเดียวได้เลย ถ้าเส้นเล็กๆ พวก 32 , 33 ก็พันกันทีละ 2 , 3 เส้น จำนวนก็ประมาณ 12-18 รอบ พันให้เต็มทุ่นแต่อย่าให้ล้นเพราะว่าจะไปชนกับฝาเบลได้ จำนวนรอบก็พยายามทดสอบกันดูครับ ส่วนที่ผมพัน CD Rom ใช้ลวดเบอร์ 33 พัน 3 เส้น 16 รอบ ก็ได้ความแรงพอประมาณจับกระแสได้ที่ประมาณ 7 แอมป์จากรูปด้านล่างเป็นวิธีการพันลวดของ APEX แบบ 9 ขา

ความปลอดภัยในโรงงาน

ความปลอดภัยในโรงงานในปัจจุบันพบว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงานนั้นมีอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งสาเหตุที่เกิดนั้นมีหลายประการ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องปฏิบัติอย่างไรหรือมีนโยบายที่ชัดเจนอย่างไรในการลดอุบัติเหตุอันเกิดจากการทำงานในสถานประกอบการ และให้ความเชื่อมั่นความปลอดภัยในการทำงานแก่คนงาน การทำงานที่มีความปลอดภัยคือสภาพที่ไม่มีภยันตราย ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงหมายถึงการทำงานที่ปราศจากอันตราย ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ กล่าวคือ ไม่ก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ การเจ็บป่วย หรือเป็นโรค การบาดเจ็บ พิการ หรือตาย ทรัพย์สินเสียหาย เสียเวลา ขบวนการผลิตหยุดชะงัก คนงานเสียขวัญและกำลังใจในการทำงาน กิจการเสียชื่อเสียง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นผลเสียทั้งสิ้น การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ก็ได้ยกเอาประเด็นเรื่องความปลอดภัยในการทำงานมาเป็นเครื่องมือพิจารณาในการค้าขายระหว่างประเทศ เนื่องจากความปลอดภัยในการทำงานนั้นเป็นปัจจัยพื้นฐานในการเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ รัฐบาลจึงสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ เสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ โดยเน้นให้สถานประกอบการคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน ได้มีการออกระเบียบโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารความเสี่ยง พ.ศ.2543 ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการโรงงาน หรือผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือใบอนุญาตขยายโรงงาน ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน โดยต้องทำการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนการดำเนินงานเพื่อชี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยง และจัดทำแผนงานการจัดการความเสี่ยง

พริกขี้หนู

ลักษณะทั่วไป: พริกเป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 1-1.25 ฟุต ใบแบนเรียบเป็นมัน ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดเล็ก กลีบดอกจะมีสีขาว หรือสีม่วง เกสรตัวผู้ 1-10 อัน เกสรตัวเมีย 1-2 อัน ผลหลายขนาด ผลขนาดเล็กยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ลูกอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่เป็นสีแดง การปลูกพริกชอบดินร่วนซุย และอากาศร้อน
การขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์: ยอดอ่อนรับประทาน โดยลวกเป็นผักแกล้มน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหารประเภทแกงจืด แกงเลียง มีสรรพคุณทางยาขับลม ขับปัสสาวะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พริกเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลโซลานาซีอี (Solanaceae) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับมะเขือ มันฝรั่ง และยาสูบพืชในตระกูลนี้มีอยู่ประมาณ 90 สกุล (Genus)
หรือ 2,000 ชนิด (Species) โดยทั่วไปเป็นได้ทั้งพืชล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นขนาดเล็กซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปของโลก สำหรับพริกจัดอยู่ในสกุล Capsicum
ซึ่งประกอบด้วยพืชชนิดต่างๆประมาณ 20-30 ชนิด สำหรับลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ศาสตร์ของพริกมีดังนี้
ราก ระบบรากของพริกมีรากแก้ว รากหากินลึกมาก ต้นพริกที่โตเต็มที่รากฝอยจะแออกไปหากินด้านข้างในรัศมีเกินกว่า1 เมตร และหยั่งลึกลงไปในดินเกินกว่า 1.20 เมตร
รากฝอยหากินของพริกจะพบอยู่อย่างหนาแน่นมากในบริเวณรอบๆ ต้นใต้ผิวดินลึกประมาณ 60 เซนติเมตร
ลำต้นและกิ่ง ลำต้นพริกตั้งตรง สูงประมาณ 1-2.5 ฟุต พริกเป็นพืชที่มีการเจริญของกิ่งเป็นแบบ dichotomous คือกิ่งจะเจริญจากลำต้นเพียง 1 กิ่ง แล้วแตกออก
เป็น 2 กิ่ง และเพิ่มเป็น 4 กิ่ง 8 กิ่ง 16 กิ่ง ไปเรื่อยๆ และมักพบว่าต้นพริกที่สมบูรณ์จะมีกิ่งแตกขึ้นมาจากต้นที่ระดับดินหลายกิ่ง จนดูคล้ายกับว่ามีหลายต้นอยู่รวมที่เดียวกัน
ดังนั้นจึงมักไม่พบลำต้นหลักแต่จะพบเพียงกิ่งหลักๆเท่านั้น ทั้งลำต้นและกิ่งนั้นในระยะแรกจะเป็นไม้เนื้ออ่อนแต่เมื่อมีอายุมากขึ้นกิ่งก็จะยิ่งแข็งมาก แต่กิ่งหรือต้นพริกก็ยัง
คงเปราะและหักง่าย
ใบ พริกเป็นใบเลี้ยงคู่ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะแบนราบเป็นมัน มีขนบ้างเล็กน้อย ใบมีรูปร่างตั้งแต่รูปไข่ไปจนกระทั่งเรียวยาว มีขนาดแตกต่างกันออกไป ใบพริกหวาน
มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ใบพริกขี้หนูทั่วไปมีขนาดเล็ก แต่ในระยะเป็นต้นกล้าและใบล่างๆ ของต้นโตเต็มที่จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่
ดอก ลักษณะของดอกพริกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน โดยปกติมักพบเป็นดอกเดี่ยว แต่อาจจะพบหลายดอกเกิดตรงจุด
เดียวกันได้ ดอกเกิดที่ข้อตรงมุมที่เกิดใบหรือกิ่งก้านดอกอาจตรงหรือโค้ง ส่วนประกอบของดอกประกอบด้วยกลีบรองดอก 5 พู กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ แต่บางพันธุ์อาจมี
สีม่วงและอาจมีกลีบตั้งแต่ 4-7 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ซึ่งแตกจากตรงโคนของชั้นกลีบดอก อับเกสรตัวผู้มีสีน้ำเงินแยกตัวเป็นกระเปาะเล็กๆ ยาวๆ เกสรตัวเมียชูสูงขึ้นไป
เหนือเกสรตัวผู้ ปลายเกสรตัวเมียมีรูปร่างเหมือนเหมือนกระบองหัวมน รังไข่มี 3 พู แต่อาจพบได้ตั้งแต่ อาจพบได้ตั้งแต่ 2-4 พู และจากการศึกษาพบว่า พริกเป็นพืชที่
ตอบสนองต่อช่วงกลางวัน โดยมักจะออกดอกและติดผลในสภาพวันสั้น ในระหว่างการเจริญเติบโดหากได้รับวันยาวหรือมีการใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางคืนเพื่อเพิ่ม
ความยาวของช่วงแสง พริกจะออกดอกช้าออกไป
ผล มีทั้งผลเดี่ยวและผลกลุ่ม ผลพริกเป็นประเภท berry ที่มีลักษณะเป็นกระเปาะมีฐานขั้วผลสั้นและหนา โดยปกติผลอ่อนมักชี้ขึ้น เมื่อผลแก่พันธุ์ที่มีลักษณะขั้วผลอ่อน
ให้ผลห้อยลง แต่บางพันธุ์ทั้งผลอ่อนและผลแก่จะชี้ขึ้น ผลมีลักษณะทั้งแบนๆ กลมยาว จนถึงพองอ้วนสั้น ขนาดของผล มีตั้งแต่ขนาดผลเล็กๆ ไปจนกระทั่งมีผลขนาดใหญ่
ผนังผลมีตั้งแต่บางจนถึงหนาขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลอ่อนมีทั้งสีเหลืองอ่อน สีเขียวอ่อน สีเขียวเข็ม และสีม่วง เมื่อผลสุก อาจเปลี่ยนเป็นสีแดง ส้มเหลือง น้ำตาล ขาวนวลหรือ
สีม่วง เมื่อผลสุก อาจเปลี่ยนเป็นสีแดง ส้ม เหลือง น้ำตาล ขาวนวล หรือสีม่วงพร้อมๆกัน กับการแก่ของเมล็ดในผลควบคู่กันไป บางพันธุ์เผ็ดจัด บางพันธุ์ไม่เผ็ดเลยหรือ
เผ็ดน้อย ฐานของผลอาจแบ่งออกเป็น 2-4 ห้อง ซึ่งจะเห็นได้ชัดในพริกหวาน แต่พริกที่มีขนาดผลเล็กอาจสังเกตได้ยาก บางพันธุ์อาจดูเหมือนว่าภายในผลมีเพียงห้องเดียว โดยตลอดเนื่องจาก septae ไม่เจริญยาวตลอดถึงปลายผล เมล็ดจะเกิดเกาะรวมกันอยู่ที่รก (Placenta) ซึ่งมีตั้งแต่โคนจนถึงปลายผล ในระหว่างการเจริญเติบโตของผล
หากอุณหภูมิในเวลากลางวันสูงและความชื้นในบรรยากาศต่ำ จะทำให้ผลพริกมีการเจริญเติบโตผิดปกติ มีรูปร่างบิดเบี้ยวและมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังทำให้การติดเมล็ด
ต่ำกว่าปกติอีกด้วย
เมล็ด เมล็ดพริกขี้หนูมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าเมล็ดมะเขือเทศแต่มีรูปร่างคล้ายๆกันคือ มีรูปร่างกลมแบน มีสีเหลืองไปจนถึงสีน้ำตาล ผิวเรียบ ผิวไม่ต่อยมีขนเหมือน
เมล็ดมะเขือเทศ มีร่องลึกอยู่ทางด้านหนึ่งของเมล็ด เมล็ดจะติดอยู่กับรกโดยเฉพาะทางด้านฐานของผลพริกเมล็ดจะติดอยู่มากกว่าปลายผล ส่วนมากที่เปลือกของผล และ
เปลือกของเมล็ดมักมีเชื้อโรคพวกโรคใบจุด และโรคใบเหี่ยวติดมา สำหรับจำนวนเมล็ดต่อผลพริก 1 ผล จะไม่แน่นอน แต่ตามมาตรฐานของขนาดเมล็ดพริกแล้ว เมล็ด
พริกหวาน 1 กรัม ควรที่จะมีเมล็ด 166 เมล็ดขึ้นไป ส่วนพริกเผ็ดที่มีขนาดผลเล็กควรมีขนาดเมล็ดเล็กลง เช่น เมล็ดพริกพันธุ์ห้วยสีทน 1 น้ำหนัก 1 กรัม มีจำนวนเมล็ดถึง
256 เมล็ด เมล็ดพริกมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 2-4 ปี

การเดินสายด้วยท่อเดินสาย

ท่อโลหะเดินสายชนิดท่อบาง ท่อโลหะชนิดนี้มักเรียกชื่อย่อว่า อีเอ็มที (EMT) เป็นท่อที่มีน้ำหนักเบา ความหนาของท่อชนิดนี้จะประมาณ 40% ของท่อชนิดหนา เนื่องจากท่ออีเอ็มทีมีน้ำหนักเบาและง่ายต่อการดัดโค้ง จึงนิยมใช้ในการเดินสายไฟในบ้านที่อยู่อาศัย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเรื่อง การติดตั้งท่ออีเอ็มที หัวข้อที่ 348 ของ NEC ท่อโลหะเดินสายชนิดท่อหนาท่อชนิดนี้เป็นท่อที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับงานที่ต้องการ ความแข็งแรง มีเกลียวที่ปลายท่อสำหรับเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกันเช่นเดียวกันกับท่อมาตรฐาน ในบ้านที่อยู่อาศัย ท่อหนาจะใช้เฉพาะเป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟจากมิเตอร์เข้าบ้าน ท่อชนิดนี้สามารถตัดให้ขาดด้วยเลื่อยตัดเหล็ก และยังสามารถทำเกลียวด้วยเครื่องมือทำเกลียวมาตรฐาน ซึ่งมีที่กัดเกลียวเป็นมุมเอียง ? นิ้วต่อฟุต ร้านขายอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าส่วนมากจะมีท่อโลหะแบบต่างๆ สำหรับเดินสายไฟด้วยความยาว ขนาดต่างๆ กัน และมีการทำเกลียวไว้พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ทันที (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเรื่อง การติดตั้งท่อโลหะชนิดหนา หัวข้อที่ 346 ของ NECท่อโลหะเดินสายไฟชนิดท่ออ่อน ท่อชนิดนี้มีลักษณะเหมือนเปลือกโลหะของสายเคเบิล ชนิดเปลือกโลหะ แต่ในการเดินสายไฟนั้น เราจะต้องติดตั้งระบบท่อให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงจะมีการร้อยสายไฟเข้าไปทีหลัง ปกติแล้วจะเดินสายไฟด้วยท่ออ่อนในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนหรือมีการเคลื่อนไหว เช่นเดินสายเข้ามอเตอร์ และนอกจากนี้อาจจะใช้ท่ออ่อนนี้เดินสายแทนท่อแบบอื่นๆ ในบริเวณที่ที่รัศมีการโค้งงอแคบมาก หรือโค้งงอได้ลำบาก (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเรื่องการติดตั้งท่ออ่อน หัวข้อที่ 350 ของ NEC) เครื่องมือที่ใช้ในการเดินสายไฟภายในท่อโลหะ 1. เครื่องมือตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัดท่อโลหะทั่วๆ ไป ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ได้แก่ เลื่อยตัดเหล็ก ที่ตัดท่อ เครื่องตัดท่อและทำเกลียวท่อประปา 2. อุปกรณ์ขจัดรอยแหลมคมของขอบท่อ ได้แก่ รีมเมอร์ ตะไบ คีม 3. เครื่องมือตัดท่อ ใช้โค้งงอท่อเป็นมุมต่างๆ ได้ 4. เครื่องมือในการดึงสายร้อยท่อภายในท่อโลหะ เรียกว่าฟิชชิ่งเทป (fishing tape) หรือ ถ้าไม่มีอาจจะใช้ลวดสลิงเส้นเล็กผูกเชือกนำเข้าไปในท่อก่อน แล้วจึงค่อยให้เชือกโผล่ในกล่องต่อสายที่ต้องการ ก็เอาเชือกนั้นผูกกับสายไฟที่จะร้อยเข้าไปในท่ออีกครั้งการติดตั้งท่ออีเอ็มที การเลือกซื้อท่ออีเอ็มที ปกติท่ออีเอ็มทีจะขายเป็นมัด มัดละ 10 เส้น เส้นหนึ่งจะยาวประมาณ 3 เมตร ดังรูปที่ 116 ร้านขายเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นจะมีท่อเดินสายขนาดต่างๆ ชนิดต่างๆ ไว้จำหน่ายเป็นจำนวนมาก ขนาดของท่ออีเอ็มทีนี้มีตั้งแต่ขนาด ? นิ้วถึงขนาด 4 นิ้ว (ดูตารางที่ 2) ในรูปที่ 10.6 นั้นแสดงขนาดและจำนวนสายไฟฟ้าที่สามารถร้อยเข้าไปภายในท่อ (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนของสายไฟฟ้าในท่อและขนาดของท่อจาก NEC)การดัดท่ออีเอ็มที การดัดท่อเดินสายไฟนี้จะต้องมีความระมัดระวังและใช้ความชำนาญอาศัยเทคนิค พร้อมเครื่องมือที่ใช้ในการดัดท่อให้โค้งงอเป็นไปในลักษณะต่างๆเครื่องดัดท่อแบบฮิคกี้ (conduit Hichey) เป็นเครื่องมือดัดท่อด้วยมือ (ดูรูปที่ 115 (ก) เครื่องดัดท่อชนิดนี้บางทีเรียกกันว่า ฮิคกี้ เครื่องมือนี้จะมีขอบผนังสูงพอที่จะยึดบังคับท่อไว้ป้องกันไม่ให้เกิดการกดทับท่อให้แบนตัวลง หรือทำให้ท่อเกิดการบิดงอ และยังมีขอบที่โค้งยาวสำหรับการโค้งงอท่อเป็นมุม 90? โดยไม่ต้องขยับเลื่อนที่ดัดงอไปยังตำแหน่งใหม่การดัดท่อเป็นมุม 45? มีหลักการทำดังนี้นำเครื่องมือดัดท่อเข้าไปคล้องจับท่อที่จะดัด แล้วก็เริ่มต้นเครื่องมือไปด้านที่เราต้องการจะงอนั้นจนกระทั่งด้ามมือจับนั้นตั้งฉากกับพื้น หรืออยู่ในแนวดิ่งก็เอาเครื่องมือออก เราก็จะได้ท่อที่งอไป 45? ตามต้องการ

การบัดกรี

การบัดกรีแข็ง เป็นหนึ่งในกรรมวิธีการประสานโลหะให้ยึดติดกันด้วยความร้อน ซึ่งการบัดกรีแข็งนี้มีกระบวนการและกรรมวิธีใน การปฏิบัติต่างจากการเชื่อมชนิดอื่น โดยที่ความแข็งแรงที่ได้จากการบัดกรีแข็งนี้อาจจะแข็งแรงมากกว่าหรือเท่ากับการเชื่อม เมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมทางข้าพเจ้าจึงได้ให้ความสนใจในเรื่องการบัดกรีแข็ง โดยได้ค้นคว้าศึกษาข้อมูลและทำการทดสอบบัดกรีแข็งกับชิ้นงานเพลา และแผ่นตามมาตรฐาน JIS Z 3192 กับโลหะงานและลวดบัดกรีแข็งต่าง ๆ กัน จำนวน 120 ชิ้น จากนั้นนำชิ้นงานที่ได้มาทดสอบด้วยการตรวจสอบ แบบมาโคร เมื่อได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ก็ได้นำไปทดสอบแรงดึงเพื่อให้เราได้ทราบถึงผลการทดสอบแรงดึง ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าการออกแบบชิ้นงาน และกรรมวิธีการเตรียมงานการบัดกรีแข็งที่ถูกต้องเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในการเพิ่มคุณสมบัติการรับแรงดึง โดยสังเกตได้จากชิ้นงาน ชนิดแผ่น ซึ่งได้มีการออกแบบการรับแรงสำหรับงานวิกฤติมากจึงสามารถรับแรงได้มากต่างกับชิ้นงานเพลาที่ได้มีการออกแบบสำหรับงาน ที่มีวิกฤตน้อยจากการรับแรงได้น้อยดังนั้นการออกแบบชิ้นงานและการเตรียมงานก่อนการบัดกรีแข็งจึงมีความสำคัญต่อการรับแรงดึง และจากการทดสอบแรงดึงชนิดเพลาจะทราบว่าสามารถรับแรงได้น้อยมาก เพราะว่าการออกแบบชนิดนี้ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้งานจริง ดังนั้นจึงมีการออกแบบชิ้นงานเพลาใหม่และมีการแนะนำการบัดกรีแข็งโดยการบัดกรีงานอลูมิเนียมควรใช้เปลวคาบูไรซิ่งอ่อน ๆ เพื่อป้องกันชิ้นงานหลอมทะลุก่อนการบัดกรีแข็ง, การบัดกรีแข็งทองแดงไม่ควรใช้เวลาในการบัดกรีแข็งนาน เนื่องจากจะทำให้ชิ้นงานไหม้, การบัดกรีแข็งลวดทองเหลืองควรควบคุมความร้อนให้ดี เพราะถ้าใช้อุณหภูมิสูงมาก ๆ จะทำให้สังกะสีระเหยไปจนเหลือแต่ทองแดงได้ การออกแบบ Jig เพื่อให้ได้ระยะห่างของร่องรอยต่อ (Clearance) ตามที่กำหนด ควรเผื่อระยะการขยายตัวของชิ้นงานเพียงเล็กน้อย

การเชื่อม

การเชื่อม เป็นขบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ส่วนใหญ่เป็นโลหะและพลาสติก โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลายและการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในแอ่งหลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับความร้อน หรืออย่างเดียว เพื่อให้เกิดรอยเชื่อม ซึ่งตรงข้ามกับการบัดกรีอ่อนและการบัดกรีแข็งซึ่งไม่มีการหลอมละลายของชิ้นงานชิ้นงาน มีแหล่งพลังงานหลายอย่างสำหรับนำมาใช้ในการเชื่อม เช่น การใช้ความร้อนจากเปลวแก๊ส, การอาร์คโดยใช้กระแสไฟฟ้า, ลำแสงเลเซอร์, การใช้อิเล็คตอรอนบีม, การเสียดสี, การใช้คลื่นเสียง เป็นต้น ในอุตสาหกรรมมีการนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่นการเชื่อมในพื้นที่โล่ง, พื้นที่อับอากาศ, การเชื่อมใต้น้ำ การเชื่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมีความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตราย เช่น ที่เกิดจาก กระแสไฟฟ้า, ความร้อน, สะเก็ดไป, ควันเชื่อม, แก๊สพิษ, รังสีอาร์ค, ชิ้นงานร้อน, ฝุ่นละออง ในยุคเริ่มแรกจนถึงศตวรรษที่ 19 มีการใช้งานเฉพาะการเชื่อมทุบ (forge welding) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อโลหะ เช่นการทำดาบในสมัยโบราณ วิธีนี้รอยเชื่อมที่ได้มีความแข็งแรงสูงและโครงสร้างของเนื้อรอยเชื่อมมีคุณภาพอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่มีความล่าช้าในการนำมาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม หลังจากนั้นได้มีการพัฒนามาสู่การเชื่อมอาร์คและการเชื่อมโดยใช้เปลวแก๊สออกซิเจนและหลังจากนั้นมีการ เชื่อมแบบความต้านทานตามมา เทคโนโลยีการเชื่อม ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการเชื่อมแบบใหม่ๆได้มีการเร่งพัฒนาเพื่อรองรับต่อการสู้รบในช่วงเวลานั้น เพื่อทดแทนการต่อโลหะแบบเดิม เช่นการใช้หมุดย้ำซึ่งมีความล่าช้าอย่างมาก ขบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW) เป็นขบวนการหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนั้นและกระทั่งปัจจุบัน ยังคงเป็นกรรมวธีที่ใช้งานกันมากที่สุดในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
เนื้อหา[ซ่อน]
1 การเชื่อมโดยใช้ลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์
2 ความเค้นตกค้างหรือความเค้นที่เหลืออยู่ (Residual stress)
3 การเคาะเพื่อคลายตัว (Peening)
4 เหล็กกล้า (Steel)
//

การเชื่อมโดยใช้ลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์
การเชื่อมโดยใช้ลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW) หรือที่เรามักเรียกกันว่า กันเชื่อมธูป บางตำรามักเรียกกันว่า manual metal arc (MMA) หรือ stick welding การเชื่อมแบบนี้ลวดเชื่อมจะมีฟลั๊กซ์หุ้มภายนอกแกนลวด และกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านแกนลวดเชื่อมไปยังส่วนปลาย กระแสไฟฟ้าที่มีทั้งชนิดกระแสตรง (DC) และชนิดกระแสสลับ (AC) การเลือกใช้งานควรเป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิตลวดเชื่อม โดยปกติจะมีพิมพ์ไว้ข้างกล่องลวด โดยจะมีการชี้บ่ง เช่น ยี่ห้อ, เกรดของลวดเชื่อม, ขนาด x ความยาวลวด, ชนิดกระแสไฟที่แนะนำให้ใช้งานในแต่ละท่าเชื่อม, ชนิดฟลั๊กซ์หุ้ม เป็นต้น กระแสไฟจะถูกส่งผ่านแหล่งจ่าย โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องเชื่อม การเริ่มต้นเชื่อมสำหรับลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ทำได้ 2 วิธี คือการเขี่ยอาร์คและการแตะปลายลวดกับผิวชิ้นงานแล้วยกขึ้นในระยะที่เหมาะสมเพื่อคงการอาร์คไว้ ขณะอาร์คจะมีความต้านทานระหว่างปลายลวดกับผิวชิ้นงานเกิดเป็นความร้อนที่สูง ซึ่งสูงพอที่จะหลอมละลายได้ทั้งผิวชิ้นงานและปลายลวดเชื่อมให้เกิดการหลอมรวมตัวกันเป็นเนื้อโลหะรอยเชื่อม

ความเค้นตกค้างหรือความเค้นที่เหลืออยู่ (Residual stress)
ความเค้นตกค้าง คือ สิ่งที่ตกค้างอยู่ เป็นสาเหตุเริ่มต้นของการเกิดความเค้นทั้งหมด (จากแรงภายนอก, จากการไม่สมดุลของความร้อน) ซึ่งต้องกำจัดออก เป็นความเค้นที่เหลืออยู่ระหว่างพื้นที่หน้าตัดชิ้นงาน แม้ว่าไม่มีความเค้นภายนอกมากระทำ ความเค้นคงเหลือเกิดขึ้นจากหลายเหตุผล รวมทั้งการไม่ยืดหยุ่นให้ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และผลจากการปรับปรุงด้วยความร้อน ความร้อนจากการเชื่อมเป็นสาเหตุให้ชิ้นงานขยายตัวในวงจำกัด เช่นการเชื่อมแบบหลอมละลาย หรือการจับยึดชิ้นงานระหว่างการเชื่อม เมื่อเนื้อรอยเชื่อมเกิดเย็นตัว บางพื้นที่เย็นก่อนและเกิดการหดตัวก่อนส่วนอื่น ความเค้นตกค้างที่เหลืออยู่ คือสิ่งที่ได้จากการหลอม รวมทั้งการเย็นตัวของชิ้นงานที่ไม่สมดุลกัน ขณะที่ไม่สมารถควบคุมความเค้นตกค้างได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ การออกแบบจำนวนมากขึ้นกับมัน ตัวอย่างเช่น ความแข็งแรงของกระจก และการเผื่อความเค้นล่วงหน้าของคอนกรีต ความเค้นในคอนกรีต ขึ้นกับการป้องกันความเปราะ เสียหาย ใทำนองเดียวกัน ความโน้มเอียงสู่การเกิดโครงสร้างที่แข็งเปราะ (marensite) การก่อรูปแบบของความเค้นในมีดดาบโดยเจาะจงให้คมมีความแข็ง สามารถป้องกันการแตกที่คมดาบ บางอย่างเช่น ลำกล้องปืน ทำด้วยท่อสองท่อให้ยึดติดกัน ท่อด้านในถูกบีบอัดขณะภายนอกทำให้ขยายออกได้ เพื่อป้องกันการแตกจากร่องที่เป็นเกลียวของลำกล้องแน เมื่อกระสุนพุ่งออกไป ปกติชิ้นส่วนทำให้ร้อนหรือจุ่มในของเหลวไนโตรเจนเหลว (liquid nitrogen) เพื่อช่วยส่วนประกอบ การบีบอัดที่เหมาะสมโดยทั่วไปจะทำอย่างรอบคอบของการใช้ความเค้นตกค้าง สลักเกลียวพวงมาลัยของยานยนต์ ตัวอย่างเช่น การกดรูของดุมล้อ รูมีขนาดเล็กกว่าสลัก เพื่อต้องการอัดแรงผ่านสลักให้เกิดความเค้นตกค้าง ความเค้นตกค้างจะผูกติดเข้าด้วยกันกับชิ้นส่วน ต้วอย่างอื่นๆเช่นตะปู เป็นต้น

การเคาะเพื่อคลายตัว (Peening)
เป็นการปฏิบัติงานทางกลของโลหะ โดยหมายถึงการตีด้วยหัวค้อนหรือการยิงในระยะสั้น (short peening) การเคาะเพื่อคลายตัวเป็นขบวนการทำงานเย็น มันโน้มน้าวให้ให้เกิดการขยายของผิวโลหะงานที่เย็น เนื่องด้วยเหตุนั้น การผ่อนคลายความเค้นแรงดึง และ/หรือความเค้นอัดภายใน การเคาะเพื่อคลายตัวยังกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวคงเหลือ (stain hardening) ของผิวโละหะ
การเคาะคลายด้วยมือ (hand peening) กระทำหลังการเชื่อมเพื่อคลายความเค้นแรงดึงซึ่งเกิดขึ้นในเนื้อรอยเชื่อมและรอบๆโลหะงานจากการเย็นตัว ระดับการลดลงของความเค้นเรงดึงอย่างน้อยที่สุดคือบริเวณที่เกิดขึ้นใกล้ผิวรอยเชื่อมเท่านั้น การเคาะคลายตัวมีแนวโน้มให้ความแข็งสูงขึ้นในเนื้อเชื่อมและงานบางอย่างควรหลีกเลี่ยง ด้วยเหตุผลนี้การเคาะคลายตัวโดยทั่วไปไม่ถูกยอมรับจากโค้ดส่วนใหญ, มาตรฐานหรือข้อกำหนด (เช่น ASME B31.3 หมวด 328.51 (d) ทุกๆรูปแบบของการเคาะคลายตัวถูกก่อนการนำมาใช้งานบนเนื้อเชื่อมต้องแนินการตามข้อกำหนดของการทดสอบชิ้นงาน
ชิ้นงานที่ดำเนินการทดสอบกระบวนการทำงานเชื่อมนั้น ตัวแปรที่จำเป็นทั้งหมดนั้นจะถูกใช้เพื่อการผลิตงานเชื่อม ถ้าหากเนื้อเชื่อมถูกเคาะคลายตัวระหว่างการทดสอบกระบวนการของขั้นตอนการเชื่อม การทดสอบทางกลซึ่งตามมาของขั้นตอนจะแสดงให้เห็นคุณสมบัติทางกลของเนื้อเชื่อม คุณสมบัติทางกลเหล่านี้ ต้องเข้ากันได้กับคุณสมบัติทางกลของวัสดุซึ่งจะเชื่อมเข้าด้วยกัน ถ้ามันไม่ได้ดำเนินการมีการสอบตกและขั้นตอนการเชื่อมนั้นไม่ถูกยอมรับที่จะใช้ในการเชื่อม การเคาะคลายตัวถูกนำมาใช้ในการการผลิตงานเชื่อมที่ถูกกำหนดให้กระทำเท่านั้น

เหล็กกล้า (Steel)
เหล็กกล้าเป็นโลหะผสมประกอบด้วยธาตุเหล็ก (iron) , คาร์บอน 0.2-1.7 หรือ 2.0% ไม่เกินกว่านี้โดยน้ำหนัก (C:1000-10,8.67Fe) ขึ้นกับเกรดที่ใช้งาน คาร์บอนเป็นธาตุที่มีผลอย่างมากต่อโลหะผสม แต่ธาตุอื่นๆที่นำมาใช้เช่น แมงกานีส, ทังสะเตน, คาร์บอนและธาตุอื่นๆทำหน้าที่ให้เกิดปฏิกิริยาการชุบแข็งในผลึกอะตอมของเหล็ก จากการเลื่อนไหลของโครงสร้างอื่นๆภายในเนื้อเหล็กกล้า จำนวนของธาตที่ผสมและรูปแบบของมันเป็นตัวควบคุมบทบาทในเหล็กกล้า (ธาตุตัวถูกละลาย ขั้นตอนการตกตะกอน) เช่น ความแข็ง ความเหนียว ความทนต่อแรงดึงของการมีผลต่อเหล็กกล้า เหล็กกล้าที่มีการเพิ่มคาร์บอนสามารถให้ความแข็งที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเหล็กแต่ให้ความเปราะมากขึ้นด้วย การถูกละลายได้ของคาร์บอนในเหล็ก (iron) ในรูปแบบออสเตนไนต์ คือ 2.14% โดยน้ำหนัก การเกิดขึ้นที่ 1149 C คาร์บอนที่เข้มข้นมากกว่านี้หรืออุณหภูมิต่กว่านี้จะสร้างโครงสร้างเซีเมนไต์ (โครงสร้างเปราะ) โลหะผสมที่มีคาร์บอนมากกว่านี้ คือเหล็กหล่อที่ได้มาจากการหลอม (Cast iron) เพราะมันมีจุดหลอมต่ำ เหล็กกล้ามีความโดดเด่นจากเหล็กเหนียว (wrought iron) ซึ่งมีธาตุอื่นผสมเพียงเล็กน้อย 1-3% ของน้ำหนักโดยสแลก (slag) ในรูปแบบของอนุภาคขนาดเล็กในทุกทิศทาง การให้เกรนที่มีลักษณะโครงสร้างเหล็ก มันมีความต้านทานต่อสนิมมากกว่าเหล็กกล้าและเชื่อมได้ง่าย ในทุกวันนี้เราพูดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เหมือนกับว่าเจาะจงเพียงเป็นอย่างเดียวกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาตร์ พวกมันได้เคยถูกแบ่งไว้เป็น 2 แบบ