วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เครื่องยนต์ทดลองวิจัยคุณภาพเชื้อเพริงสบู่ดำ

๑.๑ งานวิจัยของระพีพันธุ์ ภาสบุตร และสุขสันต์ สุทธิผลไพบูลย์ เรื่อง “การใช้นํ้ามันสบู่ดํากับเครื่องยนต์ดีเซลในไร่นา” ได้ทำการทดสอบนํ้ามันสบู่ดำที่สกัดได้กับเครื่องยนต์ดีเซลคูโบต้า ๑ สูบแบบลูกสูบนอนระบบ ๔ จังหวะ ระบายความร้อนด้วยนํ้า ปริมาตรกระบอกสูบ ๔๐๐ ซี.ซี. ๗ แรงม้า ๒,๒๐๐ รอบต่อนาทีและเปรียบเทียบผลการทดลองที่ได้กับนํ้ามันดีเซล ผลการทดลองคือ
- ผลการทดลองเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดํา ไม่ว่าจะเดินเครื่องปกติหรือเร่งครื่องก็ตาม การเดินเครื่องเป็นไปอย่างสมํ่าเสมอ ไม่มีการน็อคแต่อย่างใด อัตราการเร่งเท่ากัน ความสิ้นเปลืองของนํ้ามันสบู่ดําน้อยกว่านํ้ามันดีเซลเล็กน้อย
- ผลการวิเคราะห์ไอเสียจากปลายท่อไอเสียเครื่องยนต์ ด้วยการเปรียบเทียบการใช้น้ำมันดีเซลกับน้ำมันสบู่ดำ พบว่าควันดำจากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดำมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๑๓.๔๒ ในขณะที่นํ้ามันดีเซลมีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๑๓.๖๗ สำหรับการทดสอบหาคาร์บอนมอนนอกไซด์เมื่อใช้น้ำมันสบู่ดำมีค่าเฉลี่ยประมาณ ๕๘๗ ppm. ขณะที่นํ้ามันดีเซลมีค่าเฉลี่ยประมาณ ๕๘๓ ppm.
- ผลตรวจสอบหาซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากปลายท่อไอเสียของเครื่องยนต์ พบว่าเครื่องยนต์ที่เดินด้วยนํ้ามันสบู่ดําไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์เลย ในขณะที่นํ้ามันดีเซลพบ ๑๒๕ ppm.
- งานวิจัยนี้สรุปว่านํ้ามันสบู่ดําสามารถแทนน้ำมันดีเซลได้ นอกจากนี้ยังใช้กับเครื่องสูบนํ้า เครื่องเกี่ยว เครื่องนวด รถอีแต๋นเดินทางขนส่งพืชผล และเครื่องปั่นไฟได้อีกด้วย
๑.๒ งานวิจัยของอาจารย์วิชัย กนกพิทยาทร และดร.อุดมชัย จินะดิษฐ์ เรื่อง “สมรรถนะของเครื่องยนต์ดีเซลเล็กที่ใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิง” ในการทดสอบได้ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเล็กมิตซูบิชิ ชนิด ๑ สูบ รุ่น D 1200 โดยทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ ผลการทดลองคือ
- เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงจะมีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเบรคน้อยกว่าการใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงในทุกๆ ภาระโหลด และจากการคำนวณถ้าใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงจะทำให้ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเบรกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๔.๑๔โดยเฉลี่ยทุกภาระ
- เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงจะมีแรงบิด กำลังม้าเบรค และความดันเฉลี่ยเบรค ใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงทุกๆ ภาระโหลด และจากการคำนวณถ้าใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงจะทำให้แรงบิด กำลังม้าเบรค และความดันเฉลี่ยเบรคของเครื่องยนต์ลดลงร้อยละ ๑.๐๔ โดยเฉลี่ยทุกภาระ
- เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงจะมีปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ใกล้เคียงกันการใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงทุกๆ ภาระโหลดจนถึง ๔,๐๐๐ วัตต์ และหากให้ภาระโหลดจนเกิน ๔,๐๐๐ วัตต์ ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการคำนวณถ้าใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงช่วง ๐ ถึง ๔,๐๐๐ วัตต์จะทำให้ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ลดลงร้อยละ ๑๓.๒๒ โดยเฉลี่ยทุกภาระ
- จากผลการทดสอบจะพบว่า การใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กนั้นจะใช้ได้ดีที่ภาระโหลด ๓,๐๐๐ วัตต์ ความเร็วรอบเครื่องยนต์ ๑,๘๐๐ รอบต่อนาที เนื่องจากจะให้ค่าความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเบรกน้อยที่สุด และให้ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรคสูงที่สุด
๑.๓ งานวิจัยของ ผศ.ดร.พิชัย สราญรมย์ จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชัยนาท (จักรกลเกษตร) ซึ่งได้วิจัยเกี่ยวกับสบู่ดำไว้ และเผยแพร่ใน website: http://aopdm01.doae.go.th/data/physicnut21.htm โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ได้ทำการสกัดน้ำมันสบู่ดำด้วยเครื่องสกัดน้ำมันสบู่ดำ ตามรูปที่ ๑ ออก ๓ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ทำโดยการสกัดในห้องปฏิบัติการโดยใช้วิธีบดให้ละเอียดแล้วสกัดด้วยตัวทำละลายปิโตรเลียมอีเทอร์ จะได้น้ำมันร้อยละ ๓๔.๙๖ จากเมล็ดรวมเปลือก และร้อยละ ๕๔.๖๘ จากเนื้อเมล็ด วิธีที่ ๒ การสกัดด้วยระบบไฮดรอริคจะได้น้ำมันประมาณร้อยละ ๒๕ ถึง ๓๐ และวิธีที่ ๓ การสกัดด้วยระบบอัดเกลียว จะได้น้ำมันประมาณร้อยละ ๒๕ ถึง ๓๐ มีน้ำมันตกค้างในกากร้อยละ ๑๐ ถึง ๑๕
- น้ำมันที่ได้จากการสกัดเมล็ดสบู่ดำ สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้เลย โดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ส่วนการนำน้ำมันสบู่ดำมาทดสอบโดยใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กคูโบต้า ET 70 ปรากฏว่าเครื่องยนต์เดินเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีการน๊อค สามารถเร่งเครื่องยนต์ได้ตามปกติและการใช้น้ำมันสบู่ดำสิ้นเปลืองน้อยกว่าน้ำมันดีเซลเล็กน้อย
- จากการทดสอบและวิเคราะห์ไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดำ และที่ใช้น้ำมันดีเซล พบว่าค่าควันดำของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดำเฉลี่ยร้อยละ ๑๓.๔๒ ส่วนค่าควันดำของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลมีปริมาณร้อยละ ๑๓.๖๗ ส่วนคาร์บอนมอนนอกไซด์จากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดำเฉลี่ย ๕๘๗ ppm. ดีเซล ๕๘๓ ppm.
- ผลกระทบต่อเครื่องยนต์เมื่อเดินเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันสบู่ดำครบ ๑,๐๐๐ ชั่วโมง ได้ถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ออกมาตรวจสอบ เสื้อสูบ ลูกสูบ แหวน ลิ้น หัวฉีด และอื่น ๆ ไม่พบยางเหนียวจับ ทุกชิ้นยังคงสภาพดีเหมือนเดิม แสดงว่าน้ำมันสบู่ดำสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กเพื่อการเกษตรได้
๑.๔ นายสมศักดิ์ ศิริรักษ์ นิสิตชั้นปีที่ ๒ ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล รร.จปร. และ มศว. “ศึกษาการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากเมล็ดสบู่ดำสำหรับเครื่องยนต์ ๔ สูบ” โดยนำเสนอเป็นหัวข้อปริญญานิพนธ์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำมันที่ได้จากเมล็ดสบู่ดำในการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ ๔ สูบ และศึกษาผลของการใช้น้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำหลังจากนำมาใช้ในเครื่องยนต์ ๔ สูบ ในขณะนี้กำลังดำเนินการวิจัยให้สำเร็จภายในระยะเวลา ๑๒ เดือน หลังจากการอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการทำปริญญานิพนธ์และขออนุมัติดำเนินการทำปริญญานิพนธ์ต่อบัณฑิตวิทยาลัย มศว.
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (analog multimeter, AMM) เป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณต่อไปนี้
- ความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage)
- ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage)
- ปริมาณกระแสตรง (DC current)
- ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance)
อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางแบบสามารถใช้วัดปริมาณอื่น ๆ ได้อีก เช่น กำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (AF output) การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC current amplification, hFE) กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, lCEO) ความจุทางไฟฟ้า (capacitance) ฯลฯ
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ส่วนประกอบสำคัญของมัลติมิเตอร์แบบเข็มข้างต้น (ซึ่งแสดงหมายเลขกำกับไว้แล้วยกเว้นหมายเลข 9 และ 10) ได้แก่
1. ที่ปรับการชี้ศูนย์ (indicator zero corrector): ใช้สำหรับการปรับให้เข็มชี้ศูนย์ขณะยังไม่ได้ใช้ทำการวัด
2. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและระดับขนาด (range selector switch knob) : เป็นสวิตช์ที่ผู้ใช้จะต้องบิดเลือกว่าจะใช้เครื่องวัดปริมาณใด ซึ่งมีทั้งหมด 4 ปริมาณแต่ละปริมาณมีช่วงการวัดให้เลือก ดังนี้
ACV : 0-10V, 0-50 V, 0-250 V และ 0-1000 V (รวม 4 ช่วงการวัด)
DCV : 0-0.1 V, 0-0.5 V, 0-2.5 V, 0-10 V, 0-50 V, 0-250 V และ 0-1000 V (รวม 7 ช่วงการวัด)
DCA :0-50A,0-2.5 mA,0-25mA,และ0-0.25 A (รวม 4 ช่วงการวัด)
Resistance () :
x 1
(อ่านได้ 0-2k)
x 10
(อ่านได้ 0-20k)
x 1k
(อ่านได้ 0-2000k หรือ 2 M)
x 10k
(อ่านได้ 0-20 M)( รวม 4 ช่วงการวัด)
3. ช่องเสียบสายวัดขั้วบวก (measuring terminal +)
4. ช่องเสียบสายวัดขั้วลบ (measuring terminal -COM)
5. ช่องเสียบสายวัดขั้วบวกกรณีวัดกำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (output terminal)
6. ปุ่มปรับแก้ศูนย์โอห์ม (0 adjust knob) : ใช้เพื่อปรับให้เข็มชี้ศูนย์โอห์มเมื่อนำปลายวัดทั้งคู่มาแตะกันก่อนทำการวัดค่าความต้านทานในแต่ละช่วงการวัด
7. แผงหน้าปัด (panel)
8. เข็มชี้ (indicator pointer)
9. สายวัด (test lead) : ประกอบด้วยสาย 2 เส้น สีแดงสำหรับขั้วบวกและสีดำสำหรับขั้วลบ
10. สเกลการวัด (reading scales) : ประกอบด้วย 7 สเกลการวัดเรียงลำดับจากบนสุดลงล่างดังนี้ (ดูจากเครื่องวัดประกอบด้วย)

ประแจ

ที่ใช้ในงานช่างกลมีอยู่หลายชนิด รูปร่างแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน ประแจที่มีคุณภาพส่วนมากจะผลิตจาก เหล็กกล้าและขึ้นรูปด้วยวิธีการตีขึ้นรูป แต่ประแจที่ใช้งานได้ดีที่สุดนั้นจะทำจากเหล็กกล้าผสมโครเมียมและวานาเดียมและตีขึ้นรูปเช่นเดียวกับ ประแจที่ปรับขนาดปากได้ เช่นประแจเลื่อน ประแจจับท่อ จะออกแบบให้มีความยาวสัมพันธ์กับขนาดของปากที่อ้ากว้างที่สุด ส่วนประแจปากตาย ประแจแหวน ประแจกระบอกซึ่งขนาดของปากปรับไม่ได้ จะผลิตขนาดของปากมาตามมาตรฐานการผลิตแป้นเกลียวและสลักเกลียวด้ามของประแจ จะมีความยาวตามมาตรฐาน เพราะต้องสัมพันธ์กับแรงบิดที่ทำต่อ แป้นเกลียวและสลักเกลียว นอกจากประแจบางแบบที่ใช้สำหรับงานพิเศษจะทำให้ มีขนาดยาวกว่าปกติเพื่อเพิ่มแรงขันเกลียวให้มากขึ้น สำหรับประแจกระบอกซึ่งมีด้ามต่อหลายแบบมาให้เลือกตามสภาพการทำงานก็ต้องพิจารณา เช่นเดียวกันว่าจะเลือกใช้ด้ามประแจตัวใดกับงานชิ้นใด ประแจแต่ละชนิดผลิตมาเพื่อใช้งานแต่ละอย่างให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกต้องเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติงานด้วย

วิธีการใช้แอร์

เพื่อเป็นการช่วยลดการใช้ไฟฟ้าของประเทศ และประหยัดค่าใช้จ่าย จะต้องดำเนินการ คือ1. ล้างเครื่องปรับอากาศปีละครั้ง ประหยัดไฟได้ 5-7 % และควรมีการถอดล้างภายในหรือ "ล้างใหญ่" โดยช่างผู้ชำนาญอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 10% 2. กันร้อนให้คอนเดนเซอร์ ด้วยการตั้งคอนเดนเซอร์ไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรตั้งห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดีขึ้น จะประหยัดไฟฟ้าได้ประมาณ 15-20%3.ปรับเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา ช่วยประหยัดไฟมากอย่างมาก เพราะหากปรับอุณหภูมิให้เย็นขึ้น 1 องศา จะใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 10%4.ไม่นำความชื้นเข้าห้อง เพื่อไม่ให้ต้องใช้พลังงานอย่างหนักในการรีดความชื้นออกจากห้อง 5.ไม่นำของร้อนเข้าห้องให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักเกินไป6.ควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิท ป้องกันไม่ให้อากาศร้อนหรือความชื้นจากภายนอกเข้ามา เพราะจะทำให้เครื่องแอร์ต้องทำงานหนักขึ้น และกินไฟมากขึ้นด้วย7.ควรปิดแอร์ก่อนออกจากห้อง อย่างน้อย 30 นาที - 1 ชั่วโมง จะช่วยลดการใช้ไฟได้ 30 หน่วยต่อเดือน ประหยัดได้ 75 บาทต่อเดือน ถ้าปิดเร็วขึ้นวันละ 1 ชั่วโมง 1 ล้านเครื่อง จะประหยัดไฟให้ประเทศได้เดือนละ 75 ล้านบาท หรือ 900 ล้านบาทต่อปีSource : มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์

การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1. ตรวจสอบปลั๊กเสียก่อนว่า เสียบเรียบร้อยดีหรือไม่
2. ที่จอภาพ กดสวิทซ์ เพื่อเปิดจอภาพ
3. ที่ CPU. ด้านหน้า จะมีสวิทซ์ เพื่อเปิดเครื่อง (กดเบา ๆ )
4. เมื่อเปิดเครื่องแล้ว รอสักครู่ ที่จอภาพจะมีข้อความเพื่อตรวจสอบระบบต่าง ๆ
5. จากนั้น จะมีเสียง 1 ครั้ง
6. ที่หน้าจอภาพจะขึ้นคำว่า Windows เป็นการเริ่มต้นการใช้เครื่อง เพราะเครื่องจะต้องเรียกโปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า Windows เสียก่อน (จะใช้เวลาประมาณ 3 นาที)
7. จากนั้นหน้าจอภาพจะมีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ด้านซ้าย และด้านล่างจะมีแถบ Task Bar ให้เราทำงานได้
การเลิกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนมาคลิ๊กที่คำสั่ง Shut Down
3. คลิ๊กปุ่ม Ok
4. รอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำการปิดระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
5. จากนั้นเครื่องจะดับเอง
6. ยกเว้น จอภาพ ให้กดสวิทซ์ ปิดจอด้วย
ส่วนประกอบของหน้าจอภาพเมื่อเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว
1. ส่วนที่เป็นภาพฉากหลัง เราเรียกว่า ส่วนพื้นจอภาพ (Desk Top)
2. ด้านซ้ายของจอภาพ ส่วนที่เป็นรูปภาพ และมีคำบอกว่าเป็นโปรแกรมอะไร เรียกว่า (Icon) ลักษณะจะเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ที่วินโดวส์ จะนำมาไว้ที่จอภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ
3. ด้านล่างของจอภาพที่เป็นแถบสีเทา เราเรียกว่า (Task Bar) เป็นส่วนบอกสถานะต่าง ๆ โดยที่ด้านขวาของ ทาสบาร์ จะบอกเวลาปัจจุบัน สถานะของแป้นพิมพ์ว่า ภาษาไทย หรือ อังกฤษ โปรแกรมที่ถูกฝังตัวอยู่ ส่วนแถบตรงกลางจะใช้บอกว่า ขณะนี้เราเปิดโปรแกรมอะไรใช้งานอยู่บ้าง ด้านซ้ายของจอภาพ จะมีปุ่ม Start ใช้ในการเริ่มเข้าสู่โปรแกรมต่าง ๆ
การกดปุ่มบนเม้าส์ (Mouse) เม้าส์ในปัจจุบันจะมี 2 ปุ่ม ซ้าย และขวา ส่วนถ้าเป็นแบบล่าสุด จะมีปุ่มคล้าย ๆ ล้ออยู่ตรงกลางเพื่อใช้ในการเลื่อน ขึ้น และ ลง บนหน้าจอภาพ (Scroll Bar) ในการกดปุ่มบนเม้าส์นั้น จะมีวิธีกดปุ่มบนเม้าส์อยู่ทั้งหมด 4 วิธีคือ
1. คลิ๊ก (Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภาพ
2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก (Double Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 2 ครั้ง ติดกันอย่างเร็ว ใช้ในการเปิดโปรแกรมที่อยู่ด้านซ้ายของจอภาพ
3. แดร๊ก (Drag) คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ ใช้ในการย้ายสิ่งต่าง ๆ
4. คลิ๊กขวา (Right – Click) คือการใช้นิ้วกลาง กดปุ่ม ขวา ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเข้าเมนูลัดของโปรแกรม (Context Menu)
การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน เช่น ต้องการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข (Calculator)
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start ตรงแถบทาสบาร์ด้านล่างซ้ายมือ
2. เลื่อนเม้าส์เพื่อให้ลูกศรที่จอภาพ ชี้ที่คำว่า Program ตรงนี้ชี้ไว้เฉย ๆ ครับ ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
3. เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนก่อน แล้วเลื่อนขึ้นไปที่คำว่า Accessories ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
4. เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนอีก แล้วเลื่อนลงมาที่คำว่า Calculator
5. จากนั้นจับเม้าส์ให้ นิ่ง ๆ คลิ๊กเม้าส์ 1 ที (คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง)
6. กรอบต่าง ๆ จะหายไป แล้วเครื่องจะเปิดหน้าต่าง เครื่องคิดเลขขึ้นมา ถือว่าเสร็จขึ้นตอนการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข ขึ้นมาใช้งาน ครับ
การปิดโปรแกรม เครื่องคิดเลข
1. ที่หน้าต่างเครื่องคิดเลข (Calculator) ตรงด้านบน ขวา มือจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่ม
2. ให้เลื่อนเม้าส์ ไปที่ปุ่มที่ 3 ทางขวามือ (ปุ่มจะเป็นรูป กากบาท X ) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวางจะมีคำว่า Close
3. คลิ๊ก 1 ครั้ง เครื่องก็จะปิดหน้าต่างโปรแกรมเครื่องคิดเลขไป
การขยายหน้าต่างของโปรแกรมให้เต็มจอภาพ (Maximize)
1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊ก ปุ่มที่สอง เครื่องจะมีข้อความขึ้นมาว่า Maximize (แต่ถ้าหน้าต่าง ถูกขยายขึ้นมาอยู่แล้ว คำจะเปลี่ยนเป็น Restore ถ้าคลิ๊กลงไปจะกลายเป็นหน้าต่าง ขนาดปกติครับ)
2. จากนั้นเครื่องจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอ ส่วนใหญ่เราจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอเพื่อให้เห็นรายละเอียดในหน้าต่างมากขึ้นครับ
การลดขนาดหน้าต่างเป็น Icon ลงใน ทาสบาร์ หรือ การซ่อนหน้าต่าง (Minimize)
1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊กปุ่มที่เป็นขีด ลบ ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางจะขึ้นคำว่า Minimize
2. คลิ๊กลงไป 1 ครั้ง เครื่องก็จะซ่อนหน้าต่าง ลงไปไว้ด้านล่างตรงทาสบาร์
3. ที่ทาสบาร์จะมีคำเป็นลักษณะปุ่มเขียนว่า ซ่อนโปรแกรมอะไรไว้
4. แต่ ถ้าอยากเรียกขึ้นมาใช้งานตามเดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างที่ทาสบาร์ที่เราซ่อนเอาไว้ เครื่องก็จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมที่เราซ่อนเอาไว้ ขึ้นมาใช้งานได้ตามเดิม
การปิดโปรแกรมที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ (Hang) อาการแฮงค์ คืออาการที่เราอาจจะเปิดโปรแกรมขึ้นมาหลายโปรแกรม แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ทัน หรือเราอาจจะคลิ๊กเม้าส์หลายครั้ง ในขณะที่เครื่องกำลังประมวลผลอยู่ จนเครื่องทำงานไม่ทัน เลยเกิดอาการแฮงค์ ซึ่งอาการแฮงค์นี้จะทำให้เราไม่สามารถคลิ๊กอะไรที่จอภาพได้เลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือ
1. ที่แป้นพิมพ์ ให้เรากดปุ่ม Ctrl + Alt ค้างไว้ แล้วอีกมือหนึ่ง กดปุ่ม Delete แล้วปล่อย
2. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง Task Manager ขึ้นมา
3. จากนั้น เราคลิ๊กที่โปรแกรมที่เราคิดว่าทำให้เครื่องแฮงค์
4. ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม End Task เครื่องจะปิดโปรแกรมนั้นทิ้งไป
5. ถ้าไม่มีการปิดโปรแกรมอื่นอีก ก็ให้เลือกปุ่ม Cancel ออกมา

วิธีการประหยัดพลังงาน

1. ตรวจตราลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด
2. สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด จะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก
3. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี
4. ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องทิ้งไว้ เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย
5. ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่าๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล700 เมตร
6. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่าเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร
7. ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิด เปลี่ยนหัวคอนเดนเซอร์ ตั้งไฟแก่อ่อนให้พอดี จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 10%
8. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้าๆ สัก 1-2 กม. แรกเครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง
9. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูง
10. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (Car pool) ไปไหนมาไหน ที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกัน ควรใช้รถคันเดียวกัน
11. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน บางครั้งเรื่องบางเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ก็ได้ ประหยัดน้ำมันประหยัดเวลา
12. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย
13. ก่อนไปพบใคร ควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลา ไม่เสียน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์
14. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองน้ำมันในการวนหา
15. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ท หรือใช้บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน
16. ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน
17. หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนานไม่ต้องเผชิญปัญหาจราจร ช่วยประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน
18. ควรบับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า
19. ไม่ควรขับรถลากเกียร์ เพราการลากเกียร์ต่ำนานๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย
20. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้นเช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี